เบอร์โทร 0-2411-5657-9

การประชุมโครงการสืบสานที่ Royal River - Download Files ที่นำเสนอในการประชุม

ย 
น.พ.ธรรมนิตย์ อังศุสิงห์
นพ.วัลลภ ไทยเหนือ
ศ.พ.ญ.คุณหญิงสำอางค์ คุรุรัตน์พันธ์
วัตถุประสงค์ของการประชุม
1. ติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และปัญหาอุปสรรค์จากการดำเนินงานของจังหวัดต่างๆ
2. พัฒนาระบบรายงาน และหาแนวทางในการเพิ่มจำนวนการบันทึกผู้ป่วยมะเร็งเต้านม รายใหม่

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการในการเก็บข้อมูลมะเร็งเต้านมรายใหม่ ของ จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผุ้ป่วยมะเร็งเต้านมได้สูงที่สุด ประชากรหญิงอายุ 30-70 ปี ที่ register เท่ากับ 305,120 คน พบมะเร็งเต้านมรายใหม่ในปี 2556 เท่ากับ 102 ราย คิดเป็น 33 ต่อแสนของหญิงอายุ 30-70 ปี ย  จึงนำกระบวนการของจังหวัดเชียงราย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกระบวนการของจังหวัดเป็นดังนี้
1. การดำเนินโครงการสืบสานพระราชปณิธาน ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ โดยมี สสจ.เป็นประธาน
2. คณะกรรมการได้มอบหมายให้ ผู้รับผิดชอบ OPD ศัลย์ ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติของเต้านม โดยผู้รับผิดชอบดังกล่าว จะเป็นผู้ประสานข้อมูลกับงาน NCD ของง สสจ. และศัลยแพทย์ของโรงพยาบาล (นพ.อิทธิพงษ์)
3. ผู้ป่วยผิดปกติ จะได้รับการตรวจวินิจฉัย โดยแบ่งเป็น
ย ย  -ย ในรายผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม จะได้รับบันทึกในสมุด/คอมพิวเตอร์ และติดตามต่อเนื่อง เพื่อดูว่าจะกลายเป็นมะเร็งหรือไม่
ย ย  -ย ในรายที่เป็นมะเร็งเต้านมจะทำการซักประวัติ และบันทึกผลการตรวจตามแบบฟอร์ม BCI ประสานแผนกชันสูตร เพื่อบันทึกผล patho และขึ้นทะเบียนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ ทุกวัน
4. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ นอกจากจะเก็บรวบรวมแบบฟอร์ม BCI และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้ว ยังเป็น Center ในการ Key ข้อมูลตามแบบฟอร์มขึ้น Web จากนั้น share ข้อมูลให้กับ รพช.ที่ส่งต่อ หรือ รพ.สต.ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ เืพื่อให้สามารถทราบผลการวินิจฉัยและการรักษาผ่าน Web ได้ อีกทั้งประสานงานกับ งาน NCD ของ สสจ.(รายไตรมาส) โดยงาน NCD ของ สสจ.จะเป็น Focal Point ในเรื่องข้อมูล เพื่อให้ทราบภาพรวมของทั้งจังหวัด (ทั้ง รพศ และ รพช.ทุกแห่งของจังหวัด)

ที่ประชุมสรุปแนวทางที่จะทำให้สามารถรายงานผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ได้เพิ่มขึ้นและถูกต้องมากขึ้น
1. ศูนย์เขต จะทำหน้าที่นิเทศจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ ในกรณีที่โครงการจะนิเทศพื้นที่ให้ประสานศูนย์เขตไปร่วมนิเทศด้วย เนื่องจากเป็นโครงการระยะยาว จำเป็นต้องให้ศูนย์เขตเป็นผู้นิเทศและติดตามในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2. ให้จังหวัดกำหนดผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ ของจังหวัด โดยทางโครงการจะทำหนังสือแจ้งจังหวัดส่งรายชื่อผู้รับผิดชอบ โดยให้ส่งรายชื่อให้ศูนย์เขต เพื่อที่จะได้ทำการนิเทศติดตามต่อไป
3. ผู้รับผิดชอบของจังหวัดจะเป็นผู้ชี้แจงผู้ที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม BCI เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ถูกต้อง และต้องกำหนดระบบว่าข้อมูลที่บันทึกในแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้ว จะมอบให้ใครเป็น Center ในการ Key ข้อมูลมะเร็งเต้านมรายใหม่ผ่าน Web เพื่อแก้ปัญหาความไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วนของข้อมูลมะเร็งเต้านมรายใหม่
4. พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมให้บันทึกในแบบฟอร์ม BCIย ก่อน แล้วตรวจสอบความถูกต้อง โดยข้อมูลที่ขาดไม่ได้ คือ
ย ย  -ย ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ และเลข 13 หลัก
ย ย  -ย การวินิจฉัย / วันที่เริ่มวินิจฉัยมะเร็งเต้านม / ผลชิ้นเนื้อ / ขนาดก้อนที่วัดจากวิธีต่างๆได้แก่ mammogram ,ultrasound / ชิ้นเนื้อ /Staging / ตำแหน่งของก้อน
ย ย  -ย BSE สม่ำเสมอหรือไม่ ให้ดูจากสมุดบันทึก BSE ถ้าบันทึก 10 ใน 12 เดือน ในแต่ละปีถือว่าสม่ำเสมอ (ข้อมูล exam เพื่อใช้ในการกำกับติดตามพื้นที่ในเรื่องการ BSE แต่ไม่ได้เป็นตัวตัดสินสุดท้ายว่า BSE สม่ำเสมอหรือไม่ การตัดสินสุดท้ายดูจากสมุดบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเอง)
5. ส่งแบบฟอร์ม BCI ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วไปให้ Center เพื่อให้ Center ทำการบันทึกข้อมูลผ่าน Web ( แทนแต่ละ รพ.ทำการบันทึกเอง เพราะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลยาก)
6. ผู้รับผิดชอบให้ดูว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ประมาณ 60 ต่อ แสน /หญิง 30-70 ปี หรือไม่ ถ้ายังต่ำกว่า ให้พิจารณาหาสาเหตุว่าเกิดจาก พื้นที่มีอุบัติการณ์การเกิดต่ำจริง หรือการจากมี case แต่ไม่พบ Case
7. ผู้ป่วยที่ไปรักษาที่โรงพยาบาลนอกพื้นที่จังหวัด เช่นอยู่กำแพงเพชร ไปรักษาที่ศูนย์มะเร็งลำปาง หรือ ลพบุรี หรือ รพ.ใน กทม.มีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้
ย ย  -ย ในเบื้องต้น ให้โรงพยาบาลหรือจังหวัด ทำเรื่องแจ้งทาง รพ.ที่รับคนไข้ไว้รักษา เพื่อขออนุเคราะห์ข้อมูล โดย CC ส่งข้อมูลมายังที่โครงการด้วยย ตามตัวอย่างแบบฟอร์ม
ย ย  -ย ถ้าจังหวัดยังไม่ได้ข้อมูลเป็นระยะเวลาเกินสมควร ให้โครงการทำเรื่องประสานโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยไปรักษาด้วย

กำหนดการส่งข้อมูลการตรวจเต้านม (Breast Exam)
1. จังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ใช่จังหวัดนครราชสีมา
ย ย  -ย เดือนมกราคม (ส่งข้อมูลการยืนยันการ BSE เดือน ต.ค. - ธ.ค ปีก่อนหน้า.)
ย ย  -ย เดือนเมษายน (ส่งข้อมูลการยืนยันการ BSE เดือน ม.ค. - มี.ค.)
ย ย  -ย เดือนกรกฎาคม (ส่งข้อมูลการยืนยันการ BSE เดือน เม.ย. - มิ.ย.)
ย ย  -ย เดือนตุลาคม (ส่งข้อมูลการยืนยันการ BSE เดือน ก.ค. - ก.ย..)
2. จังหวัดนครราชสีมา (โดยให้ตกลงกับ นพ.สสจ.อีกทั้งว่าจะเก็บข้อมูลปีละ 2 หรือ 4 ครั้ง)
ย ย  -ย เดือนเมษายน (ส่งข้อมูลการยืนยันการ BSE เดือน ต.ค.ปีก่อนหน้า - มี.ค.)
ย ย  -ย เดือนตุลาคม (ส่งข้อมูลการยืนยันการ BSE เดือน เม.ย. - ก.ย..)

1. วัตถุประสงค์หลักของโครงการ คือ Intervention ที่จะให้ หญิงอายุ 30-70 ปีที่ร่วมโครงการจำนวน 1.88 ล้านคน ตรวจเต้านมเพื่อสำรวจสภาพแวดล้อมของเต้านมว่าแตกต่างจากเดิมหรือไม่ ได้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ และครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 80ย  ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ได้รับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
2. วัตถุประสงค์รองคือจะทำการศึกษา ร่วมกับการทำ Intervention โดย
ย ย  -ย หาจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในแต่ละปี เพื่อหาอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเต้านม (Incidence rate)
ย ย  -ย หาประสิทธิผลของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BSE) โดยเปรียบเทียบกลุ่มที่ BSE อย่างสม่ำเสมอ และ กลุ่มที่ไม่สม่ำเสมอ โดยเปรียบเทียบ 2 ตัวแปรว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ คือ
ย  ย  ย  ย -ย ขนาดของก้อน
ย  ย  ย  ย -ย Staging
3. วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ถ้าวัตถุประสงค์หลักและรองบรรลุแล้ว ตือ จะทำการศึกษาเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เป็นมะเร็งเต้านมกับกลุ่มที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม
หมายเหตุ
1. การศึกษาเพื่อหาประสิทธิผลของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อที่จะลบล้างการศึกษาที่ เซี่ยงไฮ้ประเทศจีนและรัสเซียที่ว่า BSE ไม่เกิดประโยชน์เนื่องจากลดอัตราตายไม่ได้ (National Cancer Institute (NCI) report ในปี 2011 ว่า การศึกษาของเซี่ยงไฮ้และรัสเซีย นั้น good Internal Validity but poor External Validityเนื่องจากเป็นการศึกษาที่จำกัดเฉพาะคนงาน ไม่ครอบคลมกลุ่มอื่น จึงไม่สามารถที่จะสรุปเพือจะขยายผลไปสู่หญิงทั่วๆไปได้หมด)
2. การศึกษาในเรื่องปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม เพื่อที่จะหาปัจจัยเสี่ยงในคนไทย (ต่างประเทศใช้ Gail score) เพื่อบ่งชี้กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษย replica vacheron constantin

เอกสารประกอบการประชุม
  1. การบรรยายของ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือย 
  2. การบรรยายของ นพ.ธรรมนิตย์ อังศุสิงห์ย 
  3. การบรรยาย ของ นพ.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุลย 
  4. สรุปผลการประชุมพร้อมตัวอย่างหนังสือขอความอนุเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมย 
  5. หนังสือ ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม พร้อม ใบตอบกลับผู้ป่วยในโครงการ
  6. Excel สรุปร้อยละการ BSE อย่างสม่ำเสมอ และการพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่
ฟรีเครดิตosmrtnice osmrtnic livno smrtovnice smrtovnice visoko smrtovnice sarajevo smrtovnice bihac