เครื่องมือในการทำหัตถการของเต้านม (Breast intervention)

เครื่อง Digital Stereotactic Prone Table
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม เพื่อระบุตำแหน่งของรอยโรคที่พบว่ามีความผิดปกติจากภาพถ่ายแมมโมแกรม เช่นกลุ่มหินปูนที่ผิดปกติ (calcification) ก้อนเนื้อ(mass)ที่ตรวจพบจากการถ่ายแมมโมแกรมแต่ไม่พบจากการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ และเนื้อเต้านมที่ผิดรูป (distortion) โดยเครื่องจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ในการระบุตำแหน่งที่แน่นอนของรอยโรค ซึ่งจะทำให้การเจาะพิสูจน์ชิ้นเนื้อ และการวางตำแหน่งของการผ่าตัดของแพทย์ถูกต้องและแม่นยำมาก ปัจจุบันทางศูนย์ถันยรักษ์ได้เลิกใช้เครื่องนี้แล้ว โดยได้นำเข้าเครื่องมือใหม่ที่มีเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นกว่าเดิมมาทดแทนคือ เครื่อง Affirm Prone Biopsy Sytem
เครื่อง Affirm Prone Biopsy System
เป็นเครื่องมือในการกำหนดตำแหน่งและนำทางการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้เอกซเรย์ถ่ายภาพซึ่งเครื่องนี้จะสามารถใช้ได้ทั้งการสร้างภาพแบบ Conventional Stereotactic guided Biopsy (2D stereotactic) และแบบ Digital Tomosynthesis guided Biopsy
Tomosynthesis-guided biopsy
เป็นการเจาะชิ้นเนื้อโดยใช้การสร้างภาพเต้านมแบบ Digital Tomosynthesisหรือการสร้างภาพเต้านมแบบ 3มิติ (3D) ด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์หลายๆมุมแล้วนำภาพมาประมวลผลร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณหาตำแหน่งรอยโรคซึ่งสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วด้วยการเลือกตำแหน่งจากภาพเพียงภาพเดียวเท่านั้นทำให้ง่ายและสะดวกสำหรับรังสีแพทย์ในการเจาะชิ้นเนื้อนอกจากนี้การสร้างภาพแบบ Digital Tomosynthesisยังสามารถแยกแยะรอยโรคหรือเนื้อเยื่อเต้านมที่ซ้อนทับกันได้ชัดเจนกว่าการสร้างภาพแบบ Conventional Stereotactic Biopsy (2D stereotactic)
MAMMOTOME Vaccuum Assisted Biopsy System
เป็นเครื่องมือในการเจาะชิ้นเนื้อโดยอาศัยระบบสูญญากาศช่วย แต่ปัจจุบันศูนย์ถันยรักษ์ได้ยกเลิกการใช้งานเครื่องนี้แล้ว เนื่องจากได้มีการนำเครื่องมือที่มีความทันสมัยมากกว่า มาทดแทนนั่นคือเครื่อง SUROS
เครื่อง SUROS Vaccuum Assisted Biopsy System
เป็นเครื่องมือในการเจาะชิ้นเนื้อโดยอาศัยระบบสูญญากาศ (Vaccuum) ใช้เข็มขนาดใหญ่กว่าเข็มที่ใช้ในการเจาะชิ้นเนื้อทั่วไป และเข็มนั้นสามารถหมุน รอบได้ 180 องศา ช่วยให้สามารถตัดชิ้นเนื้อรอบๆบริเวณที่ต้องการได้เพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ยังมีระบบการล้างแผลภายในด้วยจึงทำให้แผลสะอาดละลดการตกค้างของเลือด การเจาะชิ้นเนื้อด้วยวิธีนี้สามารถได้ชิ้นเนื้อออกมากพอด้วยการเจาะเพียงครั้งเดียว และยังสามารถใช้แทนการผ่าตัดเล็กได้ โดยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ เป็นการช่วยพยาธิแพทย์วิเคราะห์ผล ของชิ้นเนื้อได้แม่นยำมากขึ้น