เบอร์โทร 0-2411-5657-9

FAQ

ตอบ : Was Here

ตอบ :

1. การตรวจร่างกาย : แพทย์จะทำการตรวจโดยการคลำเต้านมและต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ทั้ง 2 ข้าง เพื่อดูว่ามีก้อนหรือสิ่งผิดปกติใดๆหรือไม่ 2. การตรวจด้วย Mammogram และ Ultrasound : เป็นการตรวจขั้นพื้นฐาน เพื่อดูว่ามีก้อน หินปูน หรือต่อมน้ำเหลือง ที่มีลักษณะน่าสงสัยหรือไม่  ในผู้ป่วยบางราย อาจต้องตรวจด้วยวิธีอื่นๆเพิ่มเติม เช่น BSGI MRI หรือ Ductogram ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ 3. การตัดหรือเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) : เมื่อพบสิ่งผิดปกติที่น่าสงสัย แพทย์จะแนะนำให้ทำการตัดหรือเจาะชิ้นเนื้อเพื่อนำมาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ดีที่สุดในการวินิจฉัยว่าสิ่งผิดปกติที่พบนั้นใช่มะเร็งหรือไม่ โดยวิธีการที่จะนำชิ้นเนื้อมาตรวจนั้น มี 3 วิธี
1.) Fine needle aspiration (FNA) ทำโดยใช้เข็มขนาดเล็ก ขนาดพอๆกับเข็มเจาะเลือด เจาะแล้วดูดเอาเซลล์มาตรวจ ข้อดีคือ ใช้เข็มขนาดเล็ก ทำได้ง่าย แต่ได้เซลล์มาตรวจปริมาณน้อย บางครั้งไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ 2.) Core needle biopsy (CNB) แพทย์จะฉีดยาชา แล้วใช้เข็มขนาดใหญ่ เจาะเอาชิ้นเนื้อมาตรวจ ข้อดีคือชิ้นเนื้อที่ได้มีขนาดใหญ่ พยาธิแพทย์สามารถตรวจและให้การวินิจฉัยได้ง่ายกว่า 3.) Surgical biopsy ในบางกรณี ศัลยแพทย์จะใช้การผ่าตัดเพื่อเอาชิ้นเนื้อบางส่วนหรือทั้งหมดออกมาตรวจ
โดยปกติแล้ว แพทย์มักจะใช้วิธีที่ 1 หรือวิธีที่ 2 ในการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจ มีเป็นส่วนน้อยที่ใช้วิธีที่ 3 ส่วนจะใช้เครื่องมือชนิดใดช่วยในการเจาะชิ้นเนื้อนั้น ขึ้นอยู่กับว่าความผิดปกติที่สงสัยสามารถตรวจพบได้จากเครื่องมือชนิดใด โดยส่วนมากมักจะใช้เครื่องมือ 2 ชนิดนี้ คือ 1.) Ultrasound-guided เมื่อความผิดปกตินั้นสามารถเห็นได้จากเครื่องอัลตราซาวน์ เช่น ก้อน ถุงน้ำ 2.) Stereotactic-guided เมื่อความผิดปกตินั้นเป็นหินปูนหรือแคลเซียม ที่เห็นได้จากแมมโมแกรม
osmrtnice osmrtnic livno smrtovnice smrtovnice visoko smrtovnice sarajevo smrtovnice bihac

ตอบ :

ทาง American Cancer Society (ACS) ได้แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมในผู้หญิงทั่วไปไว้ดังนี้ อายุ 45-54 ปี : ควรตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรมปีละครั้ง อายุ 55 ปีขึ้นไป : สามารถตรวจเป็นปีเว้นปี หรือจะยังตรวจเป็นปีละครั้งเหมือนเดิม และแนะนำให้ตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรมเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังมีสุขภาพดี แต่จากสถิติการพบมะเร็งเต้านมตามกลุ่มช่วงอายุของโรงพยาบาลศิริราช พบว่ามะเร็งเต้านมจะพบมากที่สุดในช่วงอายุ 40-50 ปี และพบในกลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปีสูงถึง 20% ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่น้อยกว่าที่พบในประเทศตะวันตก ทางศูนย์ถันยรักษ์ จึงแนะนำให้หญิงไทยเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมเมื่ออายุ 35 ปี และตรวจทุกๆ 2-3 ปี จนถึงอายุ 40 ปี จีงเปลี่ยนเป็นตรวจปีละครั้งเป็นประจำทุกปี
หมายเหตุ : หากมีประวัติครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น แม่ น้องสาว พี่สาว เป็นมะเร็งเต้านม ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจะต้องเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมเร็วกว่าปกติ
osmrtnice osmrtnic livno smrtovnice smrtovnice visoko smrtovnice sarajevo smrtovnice bihac

ตอบ :  ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ มักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการคลำพบก้อนที่เต้านม ซึ่งขนาดก้อนที่คลำได้ก็จะเล็กใหญ่แตกต่างกัน แต่มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกนั้น ผู้ป่วยมักจะยังไม่มีอาการผิดปกติอะไร เนื่องจากก้อนหรือความผิดปกตินั้นมีขนาดเล็กมากจนคลำไม่พบ และไม่เห็นความผิดปกติที่เต้านม ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม (Screening mammography) จึงมีบทบาทสำคัญในการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติ โดยการทำ Screening mammogram นั้นเป็นวิธีที่มีงานวิจัยรองรับและเป็นที่ยอมรับกันในสากลว่า สามารถตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นและช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมลงได้osmrtnice osmrtnic livno smrtovnice smrtovnice visoko smrtovnice sarajevo smrtovnice bihac

ตอบ : เนื่องด้วยมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี และมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2557 พบว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากมะเร็งเต้านมในประเทศไทยนั้นสูงถึง 10.5 รายต่อวัน  ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยก็คือ ระยะของมะเร็งที่ตรวจพบ โดยอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 0-1 จะสูงถึง 99% และลดน้อยลงไปเรื่อยๆจนเหลือประมาณ 27% ในผู้ป่วยระยะที่ 4 (ระยะแพร่กระจาย)  ดังนั้น การตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น เพื่อรีบให้การรักษา จึงมีความสำคัญมากในการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยosmrtnice osmrtnic livno smrtovnice smrtovnice visoko smrtovnice sarajevo smrtovnice bihac

ตอบ :  ระยะแรกไม่มีอาการอะไร คลำก้อนไม่ได้ จะตรวจค้นพบได้ด้วยการถ่ายเอกซเรย์เต้านม หรือที่เรียกว่า แมมโมแกรม (Screening Mammogram) ผู้ที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่ (90%) มักจะคลำก้อนได้ ซึ่งแสดงว่าเป็นมาแล้ว 1- 2 ปี แต่การทีคลำเจอก้อนไม่ได้หมายความว่า ก้อนทีคลำได้ทุกก้อน คือ มะเร็ง 15-20% ของก้อนที่คลำได้เท่านั้น ที่เป็นมะเร็ง แต่ก็มีผู้เป็นมะเร็งบางส่วน (10%) ไม่มีก้อน แต่มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและหัวนม เช่น บุ๋ม นูน หรือเปลี่ยนสี ดังนั้น การดูแลป้องกันมะเร็งเต้านมจึงมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งเราเรียกว่า แผนดูแลสุขภาพ เต้านม 3 ขั้นตอน 
panerai replica  
1. ตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยการคลำ การดูผิวหนังและหัวนม (ดูแผ่นพับวิธีการตรวจ เต้านมด้วยตนเอง)

2. ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญa

 
 

 

 

osmrtnice osmrtnic livno smrtovnice smrtovnice visoko smrtovnice sarajevo smrtovnice bihac

ตอบ : ปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยใดๆ ที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่า อะไรเป็นสาเหตุ ที่แท้จริงของมะเร็งเต้านม ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือ การค้นพบ มะเร็งในระยะแรกให้เร็วที่สุด หรือค้นพบในขณะที่มะเร็งยังไม่กระจาย ออกจากเต้านม ซึ่งสามารถจะรักษาให้หายขาดได้ The Best Protection Is Early Detection (การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นพบให้เร็วที่สุด)a

 
 

 

 

osmrtnice osmrtnic livno smrtovnice smrtovnice visoko smrtovnice sarajevo smrtovnice bihac