
ประกาศผล.. ๑๒ โครงการที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
ประกาศผล..
๑๒ โครงการที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
.
หลังจากที่ทั้ง ๒๖ ชมรมถันยรักษ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ได้ดำเนินงานจัดตั้งชมรมถันยรักษ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฎ
เป็นเวลา ๓ เดือน จนเกิดเป็นรูปธรรมเรียบร้อยแล้วนั้น
.
มูลนิธิถันยรักษ์ ฯ ขอขอบคุณท่านผู้บริหาร คณะอาจารย์
น้อง ๆ นักศึกษา และทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้
ขอบคุณทุกความมุ่งมั่น และตั้งใจ ที่จะสานต่อเจตนารมณ์
เพื่อให้คนไทยทุกคนรู้จักป้องกันตนเอง ลดปัญหาการเจ็บป่วย
และอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากโรคมะเร็งเต้านม
.
จนได้ ๑๒ โครงการที่ตอบโจทย์ มีความคิดสร้างสรรค์
ที่จะให้นักศึกษา อาจารย์ ประชาชน และทุกภาคีเครือข่าย
มีส่วนร่วม เข้าถึง และดำเนินโครงการได้อย่างยั่งยืน
ได้แก่..
๑. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
๒. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
๓. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
๔. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพ ฯ
๕. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๖. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
๗. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
๘. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
๙. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
๑๐. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
๑๑. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
๑๒. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ
.
***การประกาศผลไม่เรียงตามคะแนน***
.
๑๒ ชมรม ฯ ที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
จะต้องเตรียมตัวเข้าพบโค้ชเพื่อรับฟังคำแนะนำเพิ่มเติม
ในการจัดและดำเนินการกิจกรรมชมรม ฯ
เพื่อให้คณะกรรมการเดินทางไปเยี่ยมชม
การดำเนินงานของชมรมถันยรักษ์ ฯ
ณ มหาวิทยาลัยของท่าน รวมถึงการเตรียมตัว
นำเสนอโครงการ ฯ ในรอบชิงชนะเลิศ
ผ่านแพลตฟอร์ม ZOOM พร้อมกัน
ในวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ น. เป็นต้นไป
.
มูลนิธิถันยรักษ์ ฯ ขอขอบคุณท่านผู้บริหาร
คณะอาจารย์ และน้อง ๆ นักศึกษา ทั้ง ๑๒ ชมรม ฯ
ที่ไม่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ และขอให้ทุกชมรม ฯ
ยังสานต่อโครงการ ฯ ให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ในปีต่อ ๆ ไปด้วยนะคะ
.
***การประกาศผลไม่เรียงตามลำดับคะแนน***
.
เกณฑ์การพิจารณาตัดสินรอบรองชนะเลิศ มีดังนี้..
๑. เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
๒. กระตุ้นให้นักศึกษา, บุคลากร เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Online/E-Learning)
๓. เพิ่มฐานของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร บันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ในแอปพลิเคชั่นโครงการสืบสานฯ (BSE Application)
๔. สร้างแนวร่วมอาสาสมัครในการเผยแพร่ความรู้ การดูแลเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ให้กับชุมชน หรือเครือข่ายของมหาวิทยาลัยตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
.
โดยงานประกวดรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้น
ในวันศุกร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น ๖ ทรู ดิจิทัล พาร์ค สุขุมวิท ๑๐๑
แล้วมาร่วมลุ้นกันว่าโครงการไหน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏใด
จะชนะใจคณะกรรมการ คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง ^^
.
เพิ่มเติมโทร. ๐๒-๘๕๘-๖๒๗๙
.
#ภารกิจพิชิตมะเร็งเต้านม
#มูลนิธิถันยรักษ์ #มหาวิทยาลัยราชภัฏ
#ปลูกความรู้ #ทรูปลูกปัญญา
#เต้าต้องตรวจ #ศูนย์ถันยรักษ์ #ตรวจมะเร็งเต้านม #SAVEYOURBREAST
๑๒ โครงการที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
.
หลังจากที่ทั้ง ๒๖ ชมรมถันยรักษ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ได้ดำเนินงานจัดตั้งชมรมถันยรักษ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฎ
เป็นเวลา ๓ เดือน จนเกิดเป็นรูปธรรมเรียบร้อยแล้วนั้น
.
มูลนิธิถันยรักษ์ ฯ ขอขอบคุณท่านผู้บริหาร คณะอาจารย์
น้อง ๆ นักศึกษา และทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้
ขอบคุณทุกความมุ่งมั่น และตั้งใจ ที่จะสานต่อเจตนารมณ์
เพื่อให้คนไทยทุกคนรู้จักป้องกันตนเอง ลดปัญหาการเจ็บป่วย
และอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากโรคมะเร็งเต้านม
.
จนได้ ๑๒ โครงการที่ตอบโจทย์ มีความคิดสร้างสรรค์
ที่จะให้นักศึกษา อาจารย์ ประชาชน และทุกภาคีเครือข่าย
มีส่วนร่วม เข้าถึง และดำเนินโครงการได้อย่างยั่งยืน
ได้แก่..
๑. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
๒. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
๓. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
๔. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพ ฯ
๕. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๖. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
๗. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
๘. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
๙. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
๑๐. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
๑๑. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
๑๒. ชมรมถันยรักษ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ
.
***การประกาศผลไม่เรียงตามคะแนน***
.
๑๒ ชมรม ฯ ที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
จะต้องเตรียมตัวเข้าพบโค้ชเพื่อรับฟังคำแนะนำเพิ่มเติม
ในการจัดและดำเนินการกิจกรรมชมรม ฯ
เพื่อให้คณะกรรมการเดินทางไปเยี่ยมชม
การดำเนินงานของชมรมถันยรักษ์ ฯ
ณ มหาวิทยาลัยของท่าน รวมถึงการเตรียมตัว
นำเสนอโครงการ ฯ ในรอบชิงชนะเลิศ
ผ่านแพลตฟอร์ม ZOOM พร้อมกัน
ในวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ น. เป็นต้นไป
.
มูลนิธิถันยรักษ์ ฯ ขอขอบคุณท่านผู้บริหาร
คณะอาจารย์ และน้อง ๆ นักศึกษา ทั้ง ๑๒ ชมรม ฯ
ที่ไม่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ และขอให้ทุกชมรม ฯ
ยังสานต่อโครงการ ฯ ให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ในปีต่อ ๆ ไปด้วยนะคะ
.
***การประกาศผลไม่เรียงตามลำดับคะแนน***
.
เกณฑ์การพิจารณาตัดสินรอบรองชนะเลิศ มีดังนี้..
๑. เผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
๒. กระตุ้นให้นักศึกษา, บุคลากร เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Online/E-Learning)
๓. เพิ่มฐานของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร บันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ในแอปพลิเคชั่นโครงการสืบสานฯ (BSE Application)
๔. สร้างแนวร่วมอาสาสมัครในการเผยแพร่ความรู้ การดูแลเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ให้กับชุมชน หรือเครือข่ายของมหาวิทยาลัยตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
.
โดยงานประกวดรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้น
ในวันศุกร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น ๖ ทรู ดิจิทัล พาร์ค สุขุมวิท ๑๐๑
แล้วมาร่วมลุ้นกันว่าโครงการไหน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏใด
จะชนะใจคณะกรรมการ คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง ^^
.
เพิ่มเติมโทร. ๐๒-๘๕๘-๖๒๗๙
.
#ภารกิจพิชิตมะเร็งเต้านม
#มูลนิธิถันยรักษ์ #มหาวิทยาลัยราชภัฏ
#ปลูกความรู้ #ทรูปลูกปัญญา
#เต้าต้องตรวจ #ศูนย์ถันยรักษ์ #ตรวจมะเร็งเต้านม #SAVEYOURBREAST