โลโก้ มูลนิธิถันยรักษ์มูลนิธิถันยรักษ์

หัตถการเต้านม

  • การเก็บชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ
    ทางพยาธิวิทยา (Breast Biopsy)
  • หลังตรวจวินิจฉัยแล้วพบความผิดปกติขึ้นในเต้านม ขั้นตอนต่อไปแพทย์จะแนะนำให้ผู้มาตรวจทำการตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อ เพื่อให้ทราบว่าความผิดปกติดังกล่าวเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ซึ่งวิธีการจะนำเนื้อเยื่อที่สงสัยว่าผิดปกติออกมาตรวจนั้นก็ ขึ้นอยู่กับลักษณะของความผิดปกติว่าเป็นชนิดไหน ตรวจพบได้จากเครื่องมือชนิดใด โดยรังสีแพทย์จะเป็นผู้กำหนด ตำแหน่งที่แน่นอนของสิ่งผิดปกติที่จะนำเนื้อเยื่อออกมาส่งตรวจ แล้วจึงฉีดยาชาเฉพาะที่ และใช้เข็มเข้าไปตัดเนื้อเยื่อ ออกมาส่งตรวจ แผลที่เกิดจากการเจาะนั้นมีขนาดเล็กมาก ผู้มาตรวจไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อพักฟื้น

  • กรณีตรวจพบความผิดปกติจากแมมโมแกรมStereotactic guided biopsy หรือ Digital Tomosynthesis guided biopsy
  • เป็นการเจาะตรวจเนื้อเยื่อโดยอาศัยการเอกซเรย์ค้นหาพิกัดตำแหน่งของจุดผิดปกติในเต้านม (โดยมากมักเป็นจุดหินปูน) โดยการคำนวณของคอมพิวเตอร์ แล้วใช้เข็มเจาะเข้าไปตัดชิ้นเนื้อในตำแหน่งที่ผิดปกติภายใต้การควบคุมทิศทางจากคอมพิวเตอร์

  • กรณีตรวจพบความผิดปกติจากอัลตราซาวนด์Ultrasound guided Biopsy
  • เป็นการตรวจโดยการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ค้นหาตำแหน่งของก้อนเนื้อที่ผิดปกติ แล้วใช้เข็มตัดเจาะเนื้อเยื่อภายใต้ การควบคุมทิศทางจากเครื่องอัลตราซาวนด์

  •  
  • เครื่องมือในการทำหัตถการของเต้านม (Breast intervention)
  • เครื่อง Affirm Prone Biopsy System
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม เพื่อระบุตำแหน่งของรอยโรคที่พบว่ามีความผิดปกติจากภาพถ่าย แมมโมแกรม เช่น กลุ่มหินปูนที่ผิดปกติ(calcification) ก้อนเนื้อ(mass) ที่ตรวจพบจากการถ่ายแมมโมแกรม แต่ไม่พบ จากการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ และเนื้อเต้านมที่ผิดรูป(distortion) โดยเครื่องจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ในการ ระบุตำแหน่งที่แน่นอนของรอยโรค ซึ่งจะทำให้การเจาะพิสูจน์ชิ้นเนื้อ และการวางตำแหน่งของการผ่าตัดของแพทย์ ถูกต้องและแม่นยำมาก เครื่องนี้จะสามารถใช้ได้ทั้งการสร้างภาพแบบ Conventional Stereotactic Guided Biopsy (2D stereotactic) และแบบ Digital Tomosynthesis Guided Biopsy

  • เครื่อง SUROS Vacuum Assisted Biopsy System
  • เป็นเครื่องมือในการเจาะชิ้นเนื้อโดยอาศัยระบบสูญญากาศ (Vacuum) ใช้เข็มขนาดใหญ่กว่าเข็มที่ใช้ในการเจาะชิ้นเนื้อ ทั่วไป และเข็มนั้นสามารถหมุนรอบได้ 180 องศา ช่วยให้สามารถตัดชิ้นเนื้อรอบๆบริเวณที่ต้องการได้เพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ ยังมีระบบการล้างแผลภายในด้วยจึงทำให้แผลสะอาดและลดการตกค้างของเลือด การเจาะชิ้นเนื้อด้วยวิธีนี้สามารถ ได้ชิ้นเนื้อออกมากพอด้วยการเจาะเพียงครั้งเดียว และยังสามารถใช้แทนการผ่าตัดเล็กได้ โดยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ เป็นการช่วยพยาธิแพทย์วิเคราะห์ผลของชิ้นเนื้อได้แม่นยำมากขึ้น และหลังจากเจาะชิ้นเนื้อด้วยวิธีนี้แล้ว อาจจะมีการวาง marker ไว้เพื่อบอกตำแหน่ง สำหรับการติดตามและรักษาในอนาคต

  • Trident Specimen Radiography System
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพทางรังสีให้กับสิ่งส่งตรวจที่ได้ออกมาจากเต้านมก่อนส่งชิ้นเนื้อไปตรวจทาง พยาธิวิทยา เครื่องมือนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มคุณภาพให้แก่การถ่ายภาพทางรังสีสิ่งส่งตรวจโดยเฉพาะ ช่วยอำนวย ความสะดวกในการถ่ายภาพสิ่งส่งตรวจ และลดระยะเวลาในกระบวนการเจาะชิ้นเนื้อ เนื่องจากมีขนาดเล็ก สามารถติดตั้ง ภายในห้องเจาะชิ้นเนื้อได้เลย